Type Here to Get Search Results !

ข้าราชการ

ข้าราชการ คือ บุคคลซึ่งรับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่ และรับเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของประเทศไทย ส่วนองค์กรที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่นั้นเรียก ส่วนราชการ

ข้าราชการ

ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นสัญญาบัตร (รองอำมาตย์ตรีขึ้นไป) และชั้นราชบุรุษ

ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว ตั้งแต่พ.ศ. 2518เป็นต้นมา เปลี่ยนให้เรียกว่าลูกจ้างประจำ
เสมียนพนักงาน คือ 

ข้าราชการทั่วไป ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้

ข้าราชการในประเทศไทย มีหลายประเภท ได้แก่
  • ข้าราชการพลเรือน (ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์)
  • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
  • ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • ข้าราชการทหาร
  • ข้าราชการตำรวจ
  • ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
  • ข้าราชการฝ่ายอัยการ
  • ข้าราชการรัฐสภา
  • ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
  • ข้าราชการ
  • ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
  • พนักงานอื่นของรัฐ
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • พนักงานราชการ
  • พนักงานมหาวิทยาลัย
  • พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
  • พนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
  • ลูกจ้างประจำ
สิทธิ หน้าที่ของข้าราชการ

บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นอกจากนั้นข้าราชการยังมีสิทธิต่างๆ อาทิ
  • สิทธิในการรับบำเหน็จ บำนาญ
  • สิทธิในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
  • สิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการนอกเหนือจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง อาทิ ค่ารักษาพยาบาลตนเอง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพชั่วคราว ฯลฯ
อ้างอิง

  "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.