Type Here to Get Search Results !

วงค็อกเทล (Cocktail)

ค็อกเทล (Cocktail) เป็น วงดนตรีร็อกสัญชาติไทย จากกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นศิลปินแนวคลาสสิกร็อก โดยมีต้นกำเนิดจากการรวมวงดนตรีหลาย ๆ วงในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในระดับมัธยมปลายมาออกจำหน่ายอัลบั้มโดยมีชื่อว่า ค็อกเทล จึงใช้ชื่อนี้ในการแสดงดนตรีเรื่อยมา ปัจจุบัน

ค็อกเทล (Cocktail) 
เพจเฟสบุ๊ก วงค็อกเทล
📷 ช่างภาพ lungjov และ miyabiringo
ที่อยู่              กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 
แนวเพลง      ออลเทอร์นาทิฟร็อก, ร็อก, ออร์เคส                              ตรา, อินดี้ร็อค, ป็อป, เฮฟวีเมทัล 
ช่วงปี            พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน ค่ายเพลง อิสระ 
                    (พ.ศ. 2545–2553) จีนี่ เรคคอร์ด 
                    (พ.ศ. 2553–2564) Gene Lab 
                    (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน) 
สมาชิก             ปัณฑพล ประสารราชกิจ 
                          ชวรัตน์ หรรษคุณาฒัย 
                          เกริกเกียรติ สว่างวงศ์ 
                          ฟิลิปส์ เปรมสิริกรณ์  

อดีตสมาชิก     อายุ จารุบูรณะ
                          ปาริวัฒน์ สุวรรณชัย   
                          ธิปรัชต์ โชติบุตร  
                          ปวีณ ปิ่นน้อย
                          วิทวัส หลงสมบูรณ์ 
                          วิศรุต เตชะวรงค์ 

ประวัติ
ช่วงแรกของวงและอัลบั้มแรก ค็อกเทล 
พ.ศ. 2545–2546
ค็อกเทลเริ่มต้นด้วยกลุ่มเด็กผู้ชายที่เล่นดนตรีมาด้วยกันตั้งแต่สมัยมัธยมศึกษาตอนปลายจากวง Fi-Fa และ Forte แรกเริ่มคำว่า ค็อกเทล นั้นไม่ใช่ชื่อวง แต่เป็นชื่อโปรเจกต์และชื่ออัลบั้มที่เสนอขึ้นโดยบู๊ วิศรุต เตชะวรงค์ เนื่องจากเป็นชื่อที่มีความหมายของการผสมกันของเครื่องดื่ม เปรียบเหมือนกับงานดนตรีของวงที่เป็นการรวมตัวของนักเรียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท และด้วยอีกเหตุหนึ่ง คือ ข้อสอบภาษาอังกฤษที่โรงเรียนออกในช่วงนั้น ออกเกี่ยวกับเรื่องค็อกเทลด้วย โดยการออกอัลบั้มวางขายกันในโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2545 และเริ่มสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น กระทั่งออกอัลบั้มแรกชื่อ ค็อกเทล ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับวงได้สำเร็จ

อัลบั้มแรกสุดของค็อกเทล ซึ่งจุดประสงค์ในการออกจำหน่ายอัลบั้มนี้แต่แรกเริ่มเดิมทีเป็นเพียงเพื่อการจัดจำหน่ายภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ต่อมาได้มีการวางจำหน่ายในร้านดีเจสยาม และ น้องท่าพระจันทร์ เป็นอัลบั้มที่เริ่มทำให้วงเป็นที่รู้จักในหมู่นักเรียนมัธยมปลาย และสร้างกลุ่มแฟนที่สนใจผลงานขึ้นมาได้บ้างในเวลานั้น อัลบั้มนี้มีเพลงที่เป็นที่รู้จักอย่าง "ซ้ำซ้อน" "หลบหน้า" และ "เศษซากความฝัน" ลักษณะของอัลบั้มใกล้เคียงความเป็นอัลบั้มรวบรวมมากกว่างานของค็อกเทลวงเดียว กล่าวคือเป็นการรวมตัวกันของนักดนตรีมัธยมปลายภายในโรงเรียนเตรียมอุดมหลาย ๆ วง โดยเพลง "หลบหน้า" และ "Nobody" เป็นเสียงร้องของ บู๊ วิศรุต เตชะวรงค์ ซึ่งเป็นนักร้องของ Skykick Ranger ในปัจจุบัน

อัลบั้ม 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ 
พ.ศ. 2546–2549
หลังจากนั้นค็อกเทลก็ได้ออกอีพี อินไซด์ (Inside) ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อรองรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากอัลบั้มแรก สมาชิกหลายคนในช่วงอัลบั้มแรกได้แยกย้ายกันไปศึกษาต่อกันในระดับอุดมศึกษา แต่สมาชิกที่ยังเหลืออยู่ 4 คน ได้แก่
โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ (ร้องนำ)
บู๊ - วิศรุต เตชะวรงค์ (กลอง)
หลง - วิทวัศ หลงชมบุญ (เบส) 
ธิป - ธิปรัชต์ โชติบุตร (กีตาร์) 
ได้ตัดสินใจรวมตัวกันเป็นวง โดยตั้งใจจะใช้ชื่อว่า ค็อกเทล ต่อไป อย่างไรก็ตามแนวเพลงในอัลบั้มนี้ก็ยังไม่มีมีการกำหนดตายตัวแต่อย่างใด พวกเขาเริ่มต้นทำงานเพลงอัลบั้มที่ 2 ต่อไป 

พ.ศ. 2545 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2547 
เริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 ช่วงนั้น ธิป มือกีตาร์ ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ จึงต้องหามือกีตาร์คนใหม่ ซึ่งได้ เอกซ์ ปาริวัฒน์ สุวรรณชัย เข้ามาแทน ต่อมาค็อกเทลได้ออกจำหน่ายอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ในชื่อ 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ ในปี พ.ศ. 2547 เป็นอัลบั้มที่แนวทางของวงเปลี่ยนแปลงมาเป็นร็อกอย่างเต็มตัว แต่เนื่องจากเพลงในอัลบั้มนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแต่ไม่มีการโปรโมตวงดนตรีเท่าที่ควร ทำให้เกิดลักษณะของการที่เพลงเป็นที่รู้จักมากกว่าวง

อัลบั้ม อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์ 
พ.ศ. 2549–2553
หลังจากอัลบั้มชุด 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ ค็อกเทลได้มีสมาชิกใหม่อีก 2 คน คือ 
อายุ จารุบูรณะ อดีตมือกลองจาก Saliva Bastard 
เชา - ชวรัตน์ หรรษคุณาฒัย 
พร้อมกับทำผลงานอีพี Final Light ในปี พ.ศ. 2550 และสตูดิโออัลบั้มชุดใหม่ในชื่อ อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์ (In the Memory of Summer Romance) โดยได้ใช้เวลาถึง 3 ปี อัลบั้มชุดนี้ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551 มีแนวเพลงที่แตกต่างจากร็อกในอัลบั้มของค็อกเทลชุดก่อน มีเพลง "พันธนาการ" ที่เป็นดนตรีสังเคราะห์ที่ผสมผสานกับดนตรีร็อก นอกจากนี้อัลบั้มนี้ ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสีสันอวอร์ด ประจำปี 2551 สาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมจากบทเพลง "ดาราดับแสง" เวอร์ชันบรรเลงอีกด้วย ต่อมาค็อกเทลจึงได้เซ็นสัญญากับสังกัดจีนี่เรคคอร์ด

อัลบัม เท็นเทาซันด์เทียส์ 
พ.ศ. 2553–2555
ในปี พ.ศ. 2553 ค็อกเทลได้ออกอีพีในชื่อ วัย ในอัลบั้มประกอบด้วยเพลง "วัย" ในเวอร์ชันต่าง ๆ ซึ่งอัลบั้มนี้ผลิตจำกัด 1,000 แผ่นเท่านั้น วางจำหน่ายวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ทุกแผ่นหักเป็นค่าทำบุญหนังสือเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโพธ์ศรี จังหวัดสิงห์บุรี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ค็อกเทลได้ออกสตูดิโออัลบั้มที่มีชื่อว่า เท็นเทาซันด์เทียส์ ชื่อของอัลบั้มมีที่มาจากชื่อเพลง "ฉันร้องไห้เป็นหมื่นครั้งเพื่อมาเจอเธอ" และงานในอัลบั้มนี้ ถึงแม้ว่าค็อกเทลจะมีสมาชิกเพียง 3 คน แต่ในอัลบั้มมีนักดนตรีเข้าร่วมบันทึกเสียงด้วยถึงกว่า 40 ชีวิต เพื่อสร้างสีสันผสมผสานแนวดนตรีให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยทำการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีสดทุกชิ้น และเพลง "วัย" ก็ได้บรรจุอยู่ในอัลบั้มนี้ด้วย

อัลบั้ม เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี 
พ.ศ. 2555–2558
ในอัลบั้มนี้ เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี เป็นการกลับมาของมือเบส ปาร์ค - เกริกเกียรติ สว่างวงศ์ ส่วนอายุ จารุบูรณะ ได้ขอลาออกไปทำตามคำสัญญากับเพื่อนมัธยมที่จะสร้างวงดนตรีด้วยกัน จึงได้ ฟิลิปส์ เปรมสิริกรณ์ เข้ามาทำหน้าที่มือกลองแทน เปิดตัวด้วยเพลง "คุกเข่า" มีเพลง "โปรดเถิดรัก" เป็นเพลงแรกที่ได้ร่วมงานกับวงออเคสตราเต็มวง และเป็นเพลงที่ตัดออกมาจากประโยคเล็ก ๆ ในเพลง "เธอทำให้ฉันเสียใจ" ในสตูดิโออัลบั้มชุดที่แล้วของวง และนำมาขยายความ และเป็นเพลงแรกที่ทำมิวสิกวิดีโอเนื้อเรื่อง และเพลง "เธอ" เป็นการกลับมากำกับมิวสิกวิดีโอครั้งแรกในรอบ 20 ปีของ นิค วิเชียร ฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการของค่าย โดยได้ภรรยาของโอมมาร่วมแต่งเพลงนี้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังได้มีการทำผลงานเพลงกับศิลปินอื่น โดยในปี พ.ศ. 2556 โอมได้ทำผลงานเพลง "ทางที่เลือก" ร่วมกับ ต้า พาราด็อกซ์ และแอร์ เดอะมูสส์ รวมถึงในปี พ.ศ. 2557 ค็อกเทลได้ทำผลงานเพลงคัฟเวอร์ "ข้าน้อยสมควรตาย" ของบิ๊กแอส เพื่อนำไปประกอบภาพยนตร์ ตีสาม คืนสาม 3D และเพลง "หนังสือรุ่น" นำไปประกอบละครซี่รี่ย์ เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 วงได้ออกซิงเกิลที่ห้าของอัลบั้มด้วยเพลง "คู่ชีวิต" และมีกำหนดการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของค็อกเทล เดอะฮาร์ตเลสไลฟ์ ขึ้นในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558 จัดที่เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์

อัลบั้ม ค็อกเทล ชุดที่ 6 
พ.ศ. 2559–2562
สตูดิโออัลบั้ม "ค็อกเทล" ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 6 ของวง โดยเป็นครั้งแรกของวงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกในการออกอัลบั้มใหม่ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ของวงเป็นสัญลักษณ์ตัวซี ที่ทับอยู่บนไม้กางเขน โดยปรากฏครั้งแรกในเพลง ทำดีไม่เคยจำ พ.ศ. 2560 โดยอัลบั้มนี้ซิงเกิลโปรโมทเพลงแรกคือ เพลง"ช่างมัน" ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยอัลบั้มชุดนี้ประกอบไปด้วย 11 บทเพลงซึ่งก่อนหน้าการออกจำหน่ายได้มีเพลงที่ได้เผยแพร่ทางออนไลน์แล้ว 7 เพลงและเพลงที่เหลือได้ถูกเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์หลังจากจำหน่ายอัลบั้มแล้วในเวลาต่อมา โดยอัลบั้มนี้ได้ออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และได้มีคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มในวันเดียวกัน ณ ลานหน้า ฮาร์ด ร็อค คาเฟ่ สยามสแควร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

เพจเฟสบุ๊ก วงค็อกเทล
📸ช่างภาพ lungjov 

สมาชิก
สมาชิกปัจจุบัน

ปัณฑพล ประสารราชกิจ 
(โอม) ร้องนำ (พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน)

ชวรัตน์ หรรษคุณาฒัย (เชา) 
กีตาร์ (พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน)

เกริกเกียรติ สว่างวงศ์ (ปาร์ค)
กีตาร์เบส (พ.ศ. 2553–2554, 2555–ปัจจุบัน)

ฟิลิปส์ เปรมสิริกรณ์ (ฟิลิปส์) 
กลอง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

สมาชิกระหว่างบันทึกและออกทัวร์

วิวัฒน์ สว่างวรรณรัตน์ (เหน่ง) 
กีตาร์ (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน)

กรพล ตัณฑนันทน์ (เอกซ์)  
เปียโน, คีย์บอร์ด (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน)

อดีตสมาชิก
อายุ จารุบูรณะ (อายุ) 
กลอง (พ.ศ. 2551–2555)
ปาริวัฒน์ สุวรรณชัย (เอ๊กซ์) – กีตาร์ (พ.ศ. 2547–2551)
ธิปรัชต์ โชติบุตร (ธิป) – กีตาร์ (พ.ศ. 2545–2547)
ปวีณ ปิ่นน้อย (เจ็ท) – กีตาร์ (พ.ศ. 2549–2552)
วิทวัส หลงสมบูรณ์ (หลง) – กีตาร์เบส (พ.ศ. 2545–2552)
วิศรุต เตชะวรงค์ (บู๊) – กลอง, ร้องนำ (พ.ศ. 2545–2549)


ผลงานเพลง
อัลบั้ม
  • พ.ศ. 2545: ค็อกเทล (Cocktail)
  • พ.ศ. 2547: 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ (36,000 Miles Away from Here)
  • พ.ศ. 2551: อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์ (In the Memory of Summer Romance)
  • พ.ศ. 2554: เท็นเทาซันด์เทียส์ (Ten Thousand Tears)
  • พ.ศ. 2557: เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี (The Lords of Misery)
  • พ.ศ. 2562: ค็อกเทล (Cocktail)
  • พ.ศ. 2564: เฟท แอลฟา (Fate αlpha)
  • พ.ศ. 2565: เฟท โอเมกา (Fate Ωmega)
รางวัล
  • 2565 โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2021 
  • 2566 โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2022

อ้างอิง


ช่องทางโซเชี่ยล