กรุงเทพมหานคร
เมืองหลวงงประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 6 ล้านคน
ลักษณะจังหวัด
กรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตทางบกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลพื้นฐาน
คำขวัญ: กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง
วัดวังงามเรืองรอง
เมืองหลวงของประเทศไทย
พิกัด: 13°45′09″N 100°29′39″E /
พิกัด: 13°45′09″N 100°29′39″E /
13.75250°N 100.49417°E
ประเทศ: ไทย
ภูมิภาค: ภาคกลาง
ก่อตั้ง: 21 เมษายน 2325
ยกเป็นจังหวัด: 2408
จัดระเบียบเป็นนคร:
ประเทศ: ไทย
ภูมิภาค: ภาคกลาง
ก่อตั้ง: 21 เมษายน 2325
ยกเป็นจังหวัด: 2408
จัดระเบียบเป็นนคร:
14 ธันวาคม 2515
ผู้ก่อตั้ง: พระบาทสมเด็จ
ผู้ก่อตั้ง: พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช
ศาลาว่าการ: เลขที่ 173 ถนนดินสอ
แขวงเสาชิงช้า
ศาลาว่าการ: เลขที่ 173 ถนนดินสอ
แขวงเสาชิงช้า
เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร 10200
การปกครอง
องค์กร: กรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ: ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ปลัด: ขจิต ชัชวานิชย์
พื้นที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรุงเทพมหานคร 10200
การปกครอง
องค์กร: กรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ: ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ปลัด: ขจิต ชัชวานิชย์
พื้นที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบพิเศษ:
1,568.737 ตร.กม.
1,568.737 ตร.กม.
(605.693 ตร.ไมล์)
รวมปริมณฑล:
7,761.6 ตร.กม. (2,996.8 ตร.ไมล์)
ประชากร (พ.ศ. 2562)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมปริมณฑล:
7,761.6 ตร.กม. (2,996.8 ตร.ไมล์)
ประชากร (พ.ศ. 2562)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบพิเศษ: 10,820,921 คน
ความหนาแน่น:
6,900 คน/ตร.กม.
ความหนาแน่น:
6,900 คน/ตร.กม.
(18,000 คน/ตร.ไมล์)
รวมปริมณฑล:
15,624,700 คน
ความหนาแน่นรวมปริมณฑล:
2,000 คน/ตร.กม.
รวมปริมณฑล:
15,624,700 คน
ความหนาแน่นรวมปริมณฑล:
2,000 คน/ตร.กม.
(5,200 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลา: UTC+7 (ไทย)
รหัสไปรษณีย์: 10###
รหัสพื้นที่: 02
เว็บไซต์:
เขตเวลา: UTC+7 (ไทย)
รหัสไปรษณีย์: 10###
รหัสพื้นที่: 02
เว็บไซต์:
เขตติดต่อ
ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางกรวย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีและอำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการและอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของจังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครและอำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ประวัติ
พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก
ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ
พ.ศ. 2310
หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313 ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น ทรงดำริให้ตัดถนนเจริญกรุง เป็นถนนเส้นแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป
21 ธันวาคม พ.ศ. 2514
รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2554
กรุงเทพมหานครได้รับการประกาศจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital ประจำปี พ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานครติดอันดับที่ 102 เมืองน่าอยู่ของโลก จัดอันดับโดย The Economist Intelligence Unit
เขตปกครอง
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมี 50 เขต ต่อไปนี้คือรายชื่อเขตทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร (เรียงตามรหัสเขตการปกครองที่ใช้ในราชการ)
เขตพระนคร เขตดุสิต เขตหนองจอก เขตบางรัก เขตบางเขน เขตบางกะปิ เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระโขนง เขตมีนบุรี เขตบางคอแหลม เขตประเวศ เขตคลองเตย เขตสวนหลวง เขตจอมทอง เขตราชเทวี เขตลาดพร้าว เขตวัฒนา เขตบางแค เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตหนองแขม เขตราษฎร์บูรณะ เขตบางพลัด | เขตลาดกระบัง เขตยานนาวา เขตสัมพันธวงศ์ เขตพญาไท เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตห้วยขวาง เขตคลองสาน เขตตลิ่งชัน เขตจตุจักร เขตสะพานสูง เขตวังทองหลาง เขตคลองสามวา เขตบางนา เขตทวีวัฒนา เขตทุ่งครุ เขตบางบอน เขตบางกอกน้อย เขตบางขุนเทียน เขตภาษีเจริญ เขตสาทร เขตบางซื่อ เขตดอนเมือง เขตดินแดง เขตบึงกุ่ม |
ตราสัญลักษณ์
ฝั่งพระนคร
- เขตคลองเตย (แยกมาจากเขตพระโขนงเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตคลองสามวา (แยกมาจากเขตมีนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตคันนายาว (แยกมาจากเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่มเมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตจตุจักร (แยกมาจากเขตบางเขนเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตดอนเมือง (แยกมาจากเขตบางเขนเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตดินแดง (แยกมาจากเขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตห้วยขวางเมื่อ พ.ศ. 2537)
- เขตดุสิต
- เขตบางกะปิ
- เขตบางเขน
- เขตบางคอแหลม (แยกมาจากเขตยานนาวาเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตบางซื่อ (แยกมาจากเขตดุสิตเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตบางนา (แยกมาจากเขตพระโขนงเมื่อ พ.ศ. 2541)
- เขตบางรัก
- เขตบึงกุ่ม (แยกมาจากเขตบางกะปิเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตปทุมวัน
- เขตประเวศ (แยกมาจากเขตพระโขนงเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
- เขตพญาไท
- เขตพระโขนง
- เขตพระนคร
- เขตมีนบุรี
- เขตยานนาวา
- เขตราชเทวี (แยกมาจากเขตพญาไทเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตลาดกระบัง
- เขตลาดพร้าว (แยกมาจากเขตบางกะปิเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตวังทองหลาง (แยกมาจากเขตบางกะปิเมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตวัฒนา (แยกมาจากเขตคลองเตยเมื่อ พ.ศ. 2541)
- เขตสวนหลวง (แยกมาจากเขตคลองเตยและเขตประเวศเมื่อ พ.ศ. 2537)
- เขตสะพานสูง (แยกมาจากเขตบึงกุ่มและเขตประเวศเมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตสัมพันธวงศ์
- เขตสาทร (แยกมาจากเขตยานนาวาเมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตสายไหม (แยกมาจากเขตบางเขนเมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตหนองจอก
- เขตหลักสี่ (แยกมาจากเขตดอนเมืองเมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตห้วยขวาง
ฝั่งธนบุรี
- เขตธนบุรี
- เขตบางกอกใหญ่
- เขตคลองสาน
- เขตตลิ่งชัน
- เขตบางกอกน้อย
- เขตบางขุนเทียน
- เขตภาษีเจริญ
- เขตหนองแขม
- เขตราษฎร์บูรณะ
- เขตบางพลัด (แยกมาจากเขตบางกอกน้อย เมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตจอมทอง (แยกมาจากจากเขตบางขุนเทียน เมื่อ พ.ศ. 2532)
- เขตบางแค (แยกมาจากเขตภาษีเจริญและเขตหนองแขม เมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตทวีวัฒนา (แยกมาจากเขตตลิ่งชัน เมื่อ พ.ศ. 2541)
- เขตทุ่งครุ (แยกมาจากเขตราษฎร์บูรณะ เมื่อ พ.ศ. 2540)
- เขตบางบอน (แยกมาจากเขตบางขุนเทียน เมื่อ พ.ศ. 2540)
อ้างอิง
คัดสรรบทความ กรุงเทพมหานคร ใน วิกิพีเดีย่คัดสรรบทความ กรุงเทพมหานคร ในคลังข้อมูล ค้นหา วันที่ 2023-05-22คัดสรรบทความ ใน เว็ปกรุงเทพมหานคร